ประเภทของปั๊มน้ำไฟฟ้า

ประเภทของปั๊มน้ำไฟฟ้า

ปั๊มน้ำเป็นตัวช่วยในการดันน้ำให้แรงขึ้น และเร็วขึ้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยการใช้แรงดันเข้ามาทำงาน ประเภทของปั๊มน้ำไฟฟ้าจะมีอยู่ 4 ประเภทคือคือ

  1. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ   ปั๊มน้ำอัตโนมัติ คือปั๊มน้ำชนิดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เหมาะสำหรับใช้ในบ้านเรือน ที่พักอาศัย โดยสามารถส่งน้ำจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้แบบอัตโนมัติคือ เมื่อทำการเปิดก๊อกน้ำ ตัวปั๊มน้ำจะทำงานทันที แต่ถ้าเกิดปิด      ก๊อกน้ำปั๊มน้ำก็จะหยุดทำงาน เป็นระบบอัตโนมัติทำงานตามการใช้น้ำโดยปั๊มแบบอัตโนมัติสามารถแยกได้เป็น 2 แบบคือ

           ปั๊มน้ำชนิดถังแรงดันอากาศ เป็นปั๊มน้ำทรงกระบอก ราคาถูก ทนทาน แต่แรงดันไม่สม่ำเสมอ ปั๊มตัดการทำงานบ่อย แถมต้องเช็คลม ปล่อยน้ำอยู่เสมอ หากเปิดน้ำหลายๆจุดพร้อมกันจะทำให้น้ำไหลไม่เท่ากัน

           ปั๊มน้ำชนิดแรงดันคงที่ เป็นปั๊มน้ำทรงสี่เหลี่ยม แรงดันน้ำจะมีความคงที่ สม่ำเสมอ เป็นปั๊มที่เหมาะกับการใช้น้ำหลายๆจุด การทำงานมีเสียงเบา ประหยัดไฟ แต่ราคาค่อนข้างสูง

  1. ปั๊มน้ำกึ่งอัตโนมัติ  ปั๊มน้ำกึ่งอัตโนมัติ มีลักษณะคล้ายๆกับปั๊มน้ำแบบอัตโนมัติ แต่การทำงานผู้ใช้จะต้องทำการเปิด/ปิด สวิตซ์เองหรือทำการเสียบปลั๊ก/ถอดปลั๊กเอง ไม่ค่อยเป็นที่นิยม
  1. ปั๊มน้ำหอยโข่ง  ปั๊มน้ำหอยโข่ง เป็นปั๊มน้ำที่เหมาะกับการดึงน้ำเพื่อกักเก็บใส่ถัง เหมาะสำหรับการใช้งานในการเกษตรส่งน้ำไปที่ไกลๆ หรือใช้ดึงน้ำขึ้นไปในที่สูงๆได้ เพราะมีแรงม้าในการทำงานสูง เป็นปั๊มที่สามารถทำงานนานๆได้โดยไม่มีปัญหา
  1. ปั๊มจุ่ม หรือปั๊มแช่  เป็นปั๊มที่เหมาะกับดึงน้ำขึ้นจากบ่อน้ำ หรือการเอาน้ำออกจากน้ำท่วมบ้าน สามารถทำงานแบบต่อเนื่องได้ไม่เกิน 7 ชั่วโมง มี 2 แบบ แบบมีลูกลอย และแบบไม่มีลูกลอย

 

5 วิธีการเลือกซื้อปั๊มน้ำไฟฟ้า

  1. เลือกกำลังวัตต์ของปั๊ม ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น บ้านทาวน์โฮมขนาด 2 ชั้น สามารถใช้ปั๊มที่มีขนาด 100-150 วัตต์ได้
  2. ฟังก์ชันของปั๊มน้ำ มีแบบถังแรงดัน และแรงดันคงที่ ถ้าชอบความสะดวกสบายในการใช้ แรงดันน้ำคงที่เมื่อเปิดหลายๆจุด เหมาะกับปั๊มแบบแรงดันคงที่ ที่เป็นที่นิยมมากในปัจุบัน แต่ถังแรงดันมีราคาถูกกว่าแต่จะไม่เหมาะสำหรับการเปิดน้ำหลายๆจุดพร้อมกัน
  3. วัสดุของปั๊มน้ำ ควรเลือกวัสดุที่ทำมาให้ระบายความร้อนได้ดี ปิดมิดชิด ทนทาน แดด/ฝน วัสดุแข็งแรงไม่แตกหักง่าย
  4. ควรมีเครื่องหมาย มอก. ที่บอกถึงความเป็นมาตราฐานที่ดี เพราะจะมีระบบตรวจสอบความผิดปกติ แต่ตัดการทำงานของตัวปั๊มได้
  5. การดูแลหลังการขาย ควรมีการรับประกันสินค้า และสามารถซ่อมบำรุงให้ได้เมื่อปั๊มเกิดชำรุด เสียหาย

การติดตั้งปั๊มน้ำไฟฟ้าที่ถูกวิธี


– ควรติดตั้งปั๊มโดยมีฐานรองจากพื้นให้ตัวปั๊มสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อลดโอกาสไฟรั่ว ไม่เป็นสนิท ไม่ให้เกิดน้ำท่วมขัง

– ควรติดตั้งโดยมีระยะห่างจะพนังประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ระบายอากาศได้

– ไม่ควรดูดน้ำจากท่อตรงน้ำประปา เพราะอาจจะมีสิ่งสกปรกเข้ามาให้ตัวปั๊มได้และผิดกฏหมายของการใช้ปั๊มน้ำ ควรต่อปั๊มจากถังพักน้ำ

– การติดตั้งท่อน้ำ กับตัวปั๊ม ควรตั้งให้ได้ระดับในแนวเดียวกัน ไม่งอ งัด หรือดัดต่างๆ เพื่อป้องกันการแตกหัก เกิดรอยรั่วต่างๆ

– ภายในตัวปั๊มจะมีใบพัดที่ทำหน้าที่ระบายอากาศภายใน ควรติดตั้งโดนคำนึงถึงการระบายความร้อน