ข้อตัดสินใจในการเลือกใช้โซล่าเซลล์

ข้อตัดสินใจในการเลือกใช้โซล่าเซลล์ 1. ถ้าเป็นพื้นที่ชนบทที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เหมาะที่จะลงทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนา 2. หากเป็นพื้นที่ที่มีไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่ต้องการประหยัด หรือลดค่าใช้จ่ายก็สามารถที่จะลงทุนทำได้ 3. โซล่าเซลล์เป็นพลังงานทดแทน พลังงานสะอาดสามารถรักษาระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม 4. การลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้จะมีราคาที่สูง 5. ต้องคอยตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์ อุปกรณ์แปลงไฟ และสายไฟ ไม่ให้มีสิ่งสกปรก และคอยบำรุงรักษาเมื่อเกิดการชำรุด 6. จะต้องมีแบตเตอรี่เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ หากต้องการที่จะใช้ไฟฟ้าในขณะที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือตอนกลางคืน

การบำรุงรักษาระบบแผงโซล่าเซลล์

การบำรุงรักษาระบบแผงโซล่าเซลล์ 1. การบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์ - ตรวจสอบบนแผงโซล่าเซลล์อย่าให้มีฝุ่นเกาะหรือ คราบสกปรก ถ้ามีฝุ่น หรือคราบสกปรกให้ทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำ และเช็ดคราบออกให้หมด แต่ไม่ควรใช้น้ำยาควรใช้น้ำสะอาดเป็นหลัก ถ้าปล่อยไว้สิ่งสกปรกอาจจะทำให้แผ่นโซล่าเซลล์ไหม้ เกิดความเสียหายได้ - ตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์อย่าใช้งานถ้าสังเกตเห็นรอยร้าว แตก สีอ่อนหรือจางลง มีรอยรั่วของน้ำภายในผิวแผงโซล่าเซลล์ ให้รีบทำการซ่อมแซมเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพจากการผลิตไฟฟ้าลดลง หมั่นตรวจสอบระบบการเชื่อมต่อให้มีความพร้อมในการใช้งานเสมอ 2. กรณีที่มีการใช้ตัวแปลงไฟฟ้าให้เป็นกระแสสลับด้วยเครื่อง อินเวอร์เตอร์ จะต้องมีการทำความสะอาด ด้วยผ้าแห้ง อย่าให้เครื่องโดนน้ำ 3. ตรวจสอบระบบสายไฟการเชื่อมต่อ ไม่มีรอยหัก ขาด ฉีก ...

วิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ถูกต้อง

วิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ถูกต้อง 1. การติดตั้งควรหันแผงโซล่าเซลล์ควรตั้งในทิศที่รับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด คือทิศใต้ เพราะเป็นทิศที่โดนแสงแดดตลอดทั้งวัน 2. การวางแผงโซล่าเซลล์ควรวางเอียง 10-18 องศา เพื่อให้แผงได้รับแสงอาทิตย์ที่จะไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ 3. โครงสร้างการติดตั้ง ยึดติด หรือวาง ต้องมีความแข็งแรงสูง มั่นคง เพราะโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โครงสร้างต้องมีความแข็งแรงและใช้ได้ในระยะยาว 4. ผู้ติดตั้งควรมีความชำนาญ ประสบการณ์ หรือความรู้ในการติดตั้งเพื่อคุณภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้า

ข้อเปรียบเทียบแผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ กับโพลีคริสตัลไลน์

ข้อเปรียบเทียบแผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ กับโพลีคริสตัลไลน์ แบบโมโนคริสตัลไลน์ จะทำมาจาก Sillicon โดยนำแท่ง silicon ทรงกระบอก มากวนให้ผลึกยึดเกาะกันอยู่ที่แกนกลาง จากนั้นจะตัดเป็นสี่เหลี่ยม แต่จะตัดเหลี่ยมออกทั้งสี่ด้าน โดยแผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์จะมีสีค่อนข้างเข้ม และราคาที่ค่อนข้างสูง ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานแสง เป็นกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20% โดยจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบโพลีคริสตัลไลน์เมื่อมีแสงน้อย มีอายุการใช้งาน 25 ปีขึ้นไป แต่หากแผงโมโนคริสตัลไลน์มีฝุ่น หรือสิ่งสกปรกติดอยู่ที่แผงอาจจะส่งผลเสียต่อวงจรได้ ควรตรวจสอบ และดูแลรักษา แบบโพลีคริสตัลไลน์ ทำมาจาก silicon เหมือนกันแบบโมโนคริสตัลไลน์ ...

ข้อดี-ข้อเสีย ของโซล่าเซลล์

ข้อดี-ข้อเสีย ของโซล่าเซลล์ ข้อดีของโซล่าเซลล์ - เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ทำลายดลกเนื่องจากไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก - ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาด ไม่ว่าจะใช้ภายในบ้าน การเกษตร หรือโรงงานอุตสาหกรรม สามารถประยุกต์ใช้ได้หมด - เป็นพลังงานที่ไม่จำกัด เพราะประเทศไทยมีแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปีทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าใช้จากแผงโซล่าเซลล์ได้สบาย - เป็นพลังงานทดแทนที่ดี สามารถประหยัดไฟฟ้าได้สูงแล้วแต่การนำมาใช้งาน ในบางพื้นที่ ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงก็สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ - สามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้องการแปลงกระแสไฟฟ้า ในอุปกรณ์บางชนิด ข้อเสียของโซล่าเซลล์ - ปริมาณในการผลิตไฟฟ้าไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับแสงอาทิตย์ของแต่ละวัน - พลังงานจะไม่สูง ถ้าต้องการใช้ไฟฟ้าสูงอาจจะต้องเพิ่มจำนวนของแผงโซล่าเซลล์ตามขนาดที่ต้องการใช้ไฟฟ้า - ต้องมีการเก็บสะสมไว้ถึงจะมีไฟฟ้าใช้ในเวลากลางคืน เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจะผลิตได้จากแสงอาทิตย์เท่านั้น - ...

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ 1. แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) ลักษณะของเซลล์แต่ละเซลล์จะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัด มีสีเข้ม ทำมาจากผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว ประสิทธิภาพสูงที่สุด สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าแบบฟิล์มบางถึง 4 เท่า และผลิตไฟฟ้าได้ดีเมื่อมีแสงน้อย อายุการใช้งานประมาณ 25 ปีขึ้นไป มีราคาที่สูง และถ้าหากมีสิ่งสกปรก ฝุ่น หรืออะไรที่ถูกบังแสงบางส่วนของแผงโซล่าเซลล์อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย 2. โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar ...

ระบบการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์

ระบบการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ 1. ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบออนกริด (On-grid System) เป็นประเภทที่เชื่อมต่อสายส่งการไฟฟ้าฯ จะมีแหล่งจ่ายไฟ 2 แหล่งคือ ระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ และจากแผงโซล่าเซลล์ โดยการแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งจะยังไม่สามารถใช้งานกับไฟบ้านได้ จะต้องแปลงไฟฟ้าเป็นกระแสสลับ (AC) โดยใช้อุปกรณ์กริดไทน์อินเวอร์เตอร์แล้วส่งเข้าไปยังระบบของการไฟฟ้าฯ แต่ถ้าเกิดไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ไม่พอใช้อุปกรณ์จะดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้แทน หรือถ้าเกิดไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯดับ ระบบโซล่าเซลล์จะจ่ายไฟปกติแต่กริดไทน์อินเวอร์เตอร์จะหยุดทำงานเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าที่กำลังซ่อมบำรุงระบบไฟ ซึ่งวิธีนี้เป็นการลดค่าไฟฟ้า ที่ใช้ได้ในพื้นที่ที่มีไฟฟ้าเข้าถึงแล้ว 2. ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบออฟกริด (OFF ...